การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Design : ISD) ซึ่งเป็นเนื้อหาที่รายวิชาได้นำเสนอไว้
ในสัปดาห์ที่ 3 โดยนำเสนอรูปแบบของระบบการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบสรุปแล้ว
อยู่ในกรอบของ ADDIE Model(Analysis,
Design, Development, Implementation, Evaluation) กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยส่วนตัว
เมื่อได้รับมอบหมายจากภาควิชาให้รับผิดชอบสอนในรายวิชาใด
ก็จะวางแผนการสอน สิ่งแรกที่ต้องทำ
(เป็นข้อบังคับของฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย) คือ
ต้องส่ง แนวการสอนหรือแผนการสอน
(Course Syllabus) ตลอดทั้งภาคเรียน ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้าง
ในแต่ละสถาบัน แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นแผนการสอนโดยคร่าว
ๆ ส่วนประกอบ ได้แก่
ข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชา คำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์ทั่วไป แผนการสอนแต่ละบท/สัปดาห์ ที่ประกอบด้วย จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
เนื้อหา (หัวเรื่องหลักและหัวเรื่องรอง) กิจกรรมและวิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน ชื่อตำราหรือหนังสื่อที่ใช้ประกอบ
และ เกณฑ์การวัดและประเมินผล
กระบวนการเขียนแผนการสอนนี้ ผมคิดว่าเป็นกระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน เพียงแต่ไม่ได้แบ่งแยกขั้นตอนให้ชัดเจน
และบางขั้นตอนยังอาจจะยังไม่สมบูรณ์ ผมลองวิเคราะห์สิ่งที่ตนเองปฏิบัติหน้าที่ในการสอนที่ผ่านมาเชื่อมโยงกับทฤษฎีการออกแบบระบบการเรียนการสอน พอสรุปได้ดังนี้
1) การวิเคราะห์
(Analysis) ในประเด็นต่าง
ๆ ได้แก่
- การวิเคราะห์ความจำเป็น
สำหรับวิชาที่จัดไว้ในหลักสูตร
และเป็นวิชาที่เลือกให้นักศึกษาเรียน
ส่วนนี้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ได้ทำการวิเคราะห์ถึงความจำเป็น
ด้วยเหตุและผล
อาจมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร
คำอธิบายรายวิชาให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าทางวิชาการที่เปลี่ยนไป
- การวิเคราะห์งานหรือการเรียนการสอน ได้แก่
การวิเคราะห์เนื้อหาและกิจกรรมต่าง
ๆ
ที่ผู้สอนต้องทำในรายวิชา โดยการแสดงหัวข้อเนื้อหาหลัก หัวเรื่องรอง
โดยยึดกรอบคำอธิบายรายวิชาเป็นหลัก
- การวิเคราะห์ผู้เรียน ส่วนใหญ่มักทำด้วยกระบวนการสั้น
ๆ เช่น สอบถามความรู้พื้นฐาน
บางครั้งอาจมีการประเมินผลก่อนเรียน
แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการออกแบบการเรียนการสอนเท่าไรนัก
ทั้งที่เป็นส่วนสำคัญมาก
ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จทางการเรียน
แต่เนื่องจากมีผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียน
ผู้สอนไม่อาจออกแบบการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้
จึงออกแบบการสอนให้เหมาะกับผู้เรียนส่วนใหญ่ในห้อง
- การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ มีการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน
โดยแบ่งเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไปของรายวิชา และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในแต่ละบท
2) การออกแบบ (Design) คือ
การออกแบบในส่วนของ วัตถุประสงค์การสอนแต่ละบทหรือแต่ละสัปดาห์เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสติปัญญา (Cognitive) ด้านทักษะ (Psychomotor) และด้านลักษณะนิสัย
(Affective) ลำดับเนื้อหาในการสอน ระบุวิธีสอนหรือ
กลยุทธ์ในการสอน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีการบรรยาย อภิปราย มอบหมายงาน (ส่วนใหญ่ยังใช้วิธีผู้สอนเป็นศูนย์กลาง) เลือกสื่อการสอน และกำหนดวิธีการประเมินผล ทั้งหมดได้ออกแบบโดยกำหนดไว้ในแผนการสอนแล้ว แต่จะนำมาใช้ตามแผนได้ทั้งหมดหรือไม่นั้น บางครั้งมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา (ถ้าสอนในชั้นเรียนปกติ และมีนักศึกษากลุ่มใหญ่)
กลยุทธ์ในการสอน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีการบรรยาย อภิปราย มอบหมายงาน (ส่วนใหญ่ยังใช้วิธีผู้สอนเป็นศูนย์กลาง) เลือกสื่อการสอน และกำหนดวิธีการประเมินผล ทั้งหมดได้ออกแบบโดยกำหนดไว้ในแผนการสอนแล้ว แต่จะนำมาใช้ตามแผนได้ทั้งหมดหรือไม่นั้น บางครั้งมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา (ถ้าสอนในชั้นเรียนปกติ และมีนักศึกษากลุ่มใหญ่)
3) การพัฒนา (Development) กระบวนการพัฒนา ได้แก่
การนำสิ่งที่คิดหรือออกแบบไว้มาใช้
ได้แก่- การพัฒนาเนื้อหา กรณีไม่พัฒนาตำราหรือเอกสารประกอบการสอนเอง
ก็ใช้วิธีการเลือกหนังสือหรือตำราที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่ออกแบบไว้- การพัฒนาสื่อ ที่สามารถทำได้ขณะนี้คือ
สไลด์ประกอบการสอน
เว็บไซต์แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม- การประเมินในขณะพัฒนา เป็นกระบวนการที่สำคัญ ผู้สอนมักไม่ค่อยได้นำมาใช้
เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก
อาจต้องมีผู้เชี่ยวชาญช่วยประเมินตรวจสอบ
หรือใช้กระบวนการวิจัยสื่อทำการหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อ
4) การนำไปใช้ (Implementation) คือ
ขั้นตอนการนำแผนการสอนที่ได้วิเคราะห์
ออกแบบ
และพัฒนาไว้ไปใช้สอนจริง
โดยพยายามดำเนินการตามแผนการสอนหรือระบบการเรียนการสอนที่ออกแบบไว้
5) การวัดและประเมินผล
(Evaluation) กระบวนการวัดและประเมินผลการสอน ส่วนใหญ่เป็นขั้นตอนการวัดและประเมินผลเพื่อเป็นการตัดสินผู้เรียน
(เพื่อตัดเกรด) คือ การสอบระหว่างเรียน
การสอบปลายภาค
การตรวจผลงานหรือโครงการที่มอบหมาย ยังไม่ได้เน้นกระบวนการวัดผลเพื่อปรับปรุงผู้เรียนในขณะเรียน
ผมคิดว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญ
เพราะเป็นการประเมินว่าระบบการเรียนการสอนของเราว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
มีข้อบกพร่องหรือไม่
ต้องแก้ไขปรับปรุงส่วนใด แต่กระบวนการดังกล่าว อาจทำได้ค่อนข้างยาก และผู้สอนต้องทุ่มเทเวลาให้อย่างมาก
จากประสบการณ์การสอนในระบบปกติที่กล่าวมา ผมคิดว่าหลายท่านที่เป็นผู้สอนอยู่ อาจมีกระบวนการคล้ายกับผมคือได้มีการออกแบบระบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบไว้แล้ว
โดยมีเครื่องมือที่สำคัญคือ แผนการสอน (Course Syllabus) หรือแนวการสอน
หลังจากได้ศึกษาทฤษฎีระบบการเรียนการสอนแต่ละแบบที่เสนอเนื้อหาในสัปดาห์นี้แล้ว
ผมเองคิดว่าจะนำไปปรับปรุงขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
โดยนำไปใช้กับ ระบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่ง ขณะนี้ผมเองกำลังทดลองใช้ Moodle LMS เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการรายวิชาอยู่ครับ
(LearnTech.yru.ac.th)
อีกประเด็นหนึ่งคือ การพัฒนาระบบการเรียนการสอน
นั้น ผมคิดว่าผู้สอนต้องทุ่มเทและเหนื่อยมากขึ้นครับ
ถ้าจะให้ดีน่าจะ พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เป็นลักษณะงานวิจัยชั้นเรียน จะได้ทั้งระบบการเรียนที่มีประสิทธิภาพและได้ผลงานวิจัยด้วย ซึ่งผมเองกำลังทำวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของการใช้ระบบอีเลิร์นนิ่งในการจัดการการเรียนการสอน
สมาชิกท่านใดมีประสบการณ์ในด้านนี้
ยินดีแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน